สารบัญ
ปัจจุบันพระพุทธศาสนามีอายุยาวนาน 2556 ปี แต่ถ้าหากเริ่มต้นจากวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ปีนี้ก็ครบ 2600 ปี ชาวพุทธนิยมเรียกว่า “พุทธชยันตี” มีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั่วโลก พระพุทธศาสนาผ่ากาลเวลามาตามลำดับ โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นมีพัฒนาการมาตามลำดับเริ่มจาก ยุคแรกที่มีการเผยแผ่ศาสนาโดยวิธีปากต่อปากคือสอนกันด้วยวาจา เรียกว่า “มุขปาฐะ จากนั้นค่อยพัฒนาตามยุคสมัยเช่นจารึก พิมพ์หนังสือ จนกระทั่งปัจจุบันมีคำสอนของพระพุทธศาสนาปรากฏบนโลกไซเบอร์มากขึ้นในหลาก หลายรูปแบบ
เมื่อ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นครั้งแรกนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอาศัยพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว พระองค์ทรงการแสดงธรรมครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หลังจากการตรัสรู้ผ่านไปเจ็ดสัปดาห์ จนกระทั่งปัญจวัคคีย์ได้อุปสมบท จากนั้นจึงแสดงธรรมแก่ยสกุลบุตรและสหายของยสกุลบุตร ในครั้งนั้นได้มีผู้อุปสมบทเป็นภิกษุจำนวน 60 รูป จึงได้เกิดเป็นคณะสงฆ์ขึ้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยคณะสงฆ์จึงได้เริ่มขึ้น วิธีการเผยแผ่จึงเป็นการเทศนาธรรมโดยใช้วิธีสอนที่เรียกว่ามุขปาฐะ ต่อมาจึงมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจนกลายเป็นคัมภีร์ในยุคต่อ ๆ มาซึ่งมีประวัติและพัฒนาการพอสังเขป ดังนี้
ประวัติและวิวัฒนาการของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ตั้งแต่ สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พัฒนาการแห่งคัมภีร์พระพุทธศาสนา นักวิเคราะห์มหายานกล่าวว่า คัมภีร์พระพุทธศาสนามีพัฒนาการ 3 ยุค คือ (1) ยุคมุขปาฐะ ระยะการสืบทอดพระธรรมวินัย โดยระบบปากต่อปาก ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 รูป คือ พระพุทธเจ้า พระอานนท์ และพระอุบาลี (2) ยุคพระสูตร ระยะการสืบทอดพระธรรมวินัยโดยการรวบรวมร้อยเรียงเป็นพระสูตร ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 รูป คือ พระมหากัสสปเถระ พระอุบาลี และพระอานนท์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน 3 เดือน พระมหากัสสปเถระเป็นประธานจัดปฐมสังคายนา ร้อยเรียงพระธรรมเทศนาเป็นพระสูตร รวบรวมพระวินัยเป็นหมวดหมู่ (3) ยุควิชาการ ระยะการสืบทอดพระธรรมวินัย โดยการแต่งคัมภีร์พระพุทธศาสนา ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 ท่าน คือ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระมัชฌันติกะ และพระมหาเทวะ(พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547), หน้า 50)
การ เผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินการมาตามลำดับโดยใช้อุปกรณ์ของแต่ละยุค แต่พอมาถึงปัจจุบัน เมื่อโลกเจริญมากขึ้นจึงมีพัฒนาการในการเผยแผ่โดยเพิ่มวิทยุโทรทัศน์และ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามา จึงพอจะแบ่งออกเป็น 5 ยุค
คือ
1. ยุคการสื่อสารโดยคำพูดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้วิธีมุขปาฐะ
2. ยุคการสื่อสารโดยการเขียนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเขียนตามผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน
3. ยุคการสื่อสารโดยการพิมพ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก คัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนา
4. ยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเลคทรอนิคส์มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุโทรทัศน์
5. ยุคการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอลมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางดาว เทียม และอินเทอร์เน็ต
ใน แต่ละยุคมีรูปแบบ กระบวนการและประสิทธิผลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แตกต่างกันไป วิธีการบางอย่างอาจเหมาะสมกับคนในยุคสมัยนั้นๆ แต่พอความเจริญผ่านไป พระพุทธศาสนาก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เหมาะสมกับคนในยุคสมัย ในแต่ละยุคมีประวัติ รูปแบบ กระบวนการและประสิทธิผลของการใช้วิธีการตามยุคสมัยพอสังเขปดังต่อไปนี้
1. ยุคการสื่อสารโดยคำพูดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้วิธีมุขปาฐะ
ใน ยุคพุทธกาลเมื่อพระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นครั้งแรกมีสาวกผู้ปฏิบัติตามคำสอน พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะให้พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักของของมหาชน จึงได้ส่งสาวกออกประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธองค์ส่งสาวกรุ่นแรกออกไปประกาศศาสนานั้นได้มีพระดำรัสดังที่ ปรากฎในวินัย มหาวรรค(วิ.มหา. 4/32/37.)ความว่า “ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลาย จำพวกที่มีธุลีคือกิเลศในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”
ใน ครั้งนั้นมีพระสมณทูตจำนวน 60 รูปเกิดขึ้นครั้งแรก การเผยแผ่ธรรมในครั้งนั้นโดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก อะไรคือประโยชน์ ในพระพุทธศาสนาแสดงประโยชน์ไว้ 3 ประการดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย นิทานวรรคสํ.นิ. (16/67/29)ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันบุคคลผู้เล็งเห็นประโยชน์ตน สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือบุคคลผู้เล็งเห็นประโยชน์ผู้อื่น สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็หรือว่า บุคคลผู้มองเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายสมควรแท้จริง เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”
ประการ ต่อมา คืออย่าไปทางเดียวกันสองรูป ทำไมจึงไม่ให้ไปทางเดียวกันน่าจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แต่ละองค์จะได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะสัตว์ที่มีกิเลสน้อยยังมีอยู่เมื่อได้ฟังธรรมก็อาจจะทำให้แจ้งซึ่งพระ นิพพานได้ แม้แต่พระองค์เองก็เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชฎิลสามพี่น้องที่ตำบลอุรุเวลาเสนา นิคม
พระ ธรรมทูตน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยนี้ ต่อมาเมื่อจำนวนภิกษุมีจำนวนมากขึ้น พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุทั้งหลายในมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค (10/141/146) ความว่า “ว่า “ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา”
ภาย หลังพุทธปรินิพพาน คณะสงฆ์บริหารด้วยธรรมวินัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราช กระทำสังคายนาครั้งที่ 3 ได้ส่งพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ 9 สาย นับเป็นพระธรรมทูตที่เดินทางออกนอกชมพูทวีปครั้งแรก ในประเทศไทยอดีตเรียกว่า สุวรรณภูมิ พระโสณะ และพระอุตตระ พร้อมด้วยภิกษุและภิกษุณีกลุ่มหนึ่งได้เดินทางนำเอาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยัง ดินแดนนี้
การ ที่พระโสณะและพระอุตตระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรก นั้น ปราการด่านแรกที่ติดขัด คือ ภาษาในการสื่อความหมาย ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ จะพูดกันรู้เรื่องได้อย่างไร แต่ภาษาธรรมนั้นสื่อกันได้โดยไม่ต้องพูด คือ เข้าใจกันด้วยสื่อภาษาใจ
รูป แบบที่ใช้ในยุคนี้คือ การท่องจำด้วยวาจาและการสาธยายทั้งโดยบุคคลคนเดียวหรือสาธยายเป็นหมู่คณะ เช่นการสาธยายพระวินัยโดยการสวดปาฏิโมกข์
กระบวน การในยุคนี้เป็นการเผยแผ่ปากต่อปาก โดยอาจารย์จะสอนศิษย์ด้วยวาจา จากนั้นศิษย์ก็จะจดจำจนขึ้นใจและสาธยายต่อ เมื่ออาจารย์เสียชีวิตลง ลูกศิษย์ก็จะเป็นอาจารย์ต่อไป ส่วนในการเผยแผ่ต่อคนทั่วไปก็จะใช้การเทศน์ การบรรยายธรรม การสนทนาธรรม การอภิปรายธรรม เป็นต้น
ใน ด้านประสิทธิผลนั้น การใช้วิธีการเผยแผ่ในยุคนี้จะมีผลมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่มาฟังหรือความสามารถของผู้แสดงธรรม ในสมัยพุทธกาลมีบันทึกไว้ว่าบางครั้งมีคนฟังจำนวนหลายแสนคนดังที่พระ พุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่พระเจ้าพิมพิสาร ที่ลัฏฐิวัน ครั้งนั้นมีคนฟังถึง 12 นหุต (หนึ่งแสนสองหมื่นคน) พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน(วิ.มหา. 4/58/63) มีข้อความตอนหนึ่งว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พราหมณ์คหบดีชาวมคธ 11 นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น พราหมณ์คหบดีอีก 1 นหุต แสดงตนเป็นอุบาสก” ในการเผยแผ่โดยวิธีมุขปาฐะนี้ ประสิทธิผลจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของผู้แสดงและของผู้ฟังด้วย
ผล กระทบของวิธีการมุขปาฐะ คือ การเปลี่ยนแปลงความคิดของคนจำนวนมาก หากไม่มีการเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า ก็อาจจะรับมือกับคนจำนวนมากไม่ได้
2. ยุคการสื่อสารโดยการเขียนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเขียนตามผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน
ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีวรรณกรรมมากกว่าประเทศที่ไม่นับถือพระพุทธ ศาสนา เพราะว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามีประชากรที่รู้หนังสือมากกว่า โดยเฉพาะพวกผู้ชายได้มีโอกาสบวชเรียน จึงมีความรู้ด้านนิทานชาดกต่าง ๆ และมีความรู้ทางด้านภาษาดีกว่าผู้ที่ไม่ได้บวชด้วย สำหรับวรรณกรรมที่ถือว่ามีค่านั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) จารึกภาษาบาลี และ (2) วรรณกรรมภาษาบาลี
1.วรรณกรรม ประเภทจารึก จารึกที่มีข้อความภาษาบาลีอักษรปัลลวะ ที่พบในประเทศไทยตามภูมิภาคต่าง ๆ มีเนื้อหาแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. จารึกเนื้อความแสดงธรรม 2. จารึกเนื้อความแสดงเหตุการณ์ 3. จารึกแสดงเนื้อความนมัสการพระรัตนตรัย 4. จารึกแสดงเนื้อความปรารถนา 5. จารึกเนื้อความปกิณณกะ (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ, กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2529, หน้า 15)
1) จารึกเนื้อความแสดงธรรม จารึกภาษาบาลีในกลุ่มนี้เท่าที่สำรวจพบมี 50 หลัก แบ่งเป็นกลุ่มตามเนื้อหาคือ
1.1) กลุ่มจารึกคาถา เย ธมฺมา ที่ค้นพบมีประมาณ 20 หลักเช่นที่ระเบียงด้านขวาองค์ พระปฐมเจดีย์ บนสถูปศิลา บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ หน้าศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม โดยใช้อักษรอินเดียใต้ที่เรียกว่าปัลลวะ ข้อความเป็นคาถาคัดมาจากคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก มหาวรรค(4/65/69) มีข้อความว่า
"เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ(เหตุง) ตถาคโต (อาห)
เตสญฺจ โย นิโรโธ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ
นอก จากนั้นยังพบบนแผ่นอิฐหลักที่ 30 บ้านท่ามะม่วง ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบที่บ้านพรหมทิน ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น แสดงว่าจารึกคาถา เย ธมฺมา มีกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนประเทศไทย
1.2) กลุ่มจารึกสารธรรมเอกเทศ คือ แต่ละหลักมีเนื้อหาตามความสนใจหรือตามที่เห็นคุณค่าเฉพาะหลัก ที่รวบรวมได้มี 18 หลัก เป็นจารึกสมัยก่อนสุโขทัย 5 หลัก จารึกสมัยสุโขทัย 8 หลักจารึกอยุธยา 4 หลัก และสมัยรัตนโกสินทร์ 1 หลัก (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ, กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2529, หน้า 34)
1.3) กลุ่มจารึกคาถาย่ออริยสัจ 4 เมื่อจารึกคาถา เย ธมฺมา สิ้นสุดลงในสมัยสุโขทัย และได้เกิดจารึกกลุ่มสาระธรรมขึ้นแทนสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา ทางอาณาจักรล้านนาได้เกิดนิยมสร้างจารึกแสดงคาถาย่ออริยสัจ 4 ขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากลังกา เท่าที่ค้นพบมี 9 จารึก เช่น จารึกที่ฐานพระพุทธรูปวัดเกศศรี จังหวัดเชียงราย จารึกด้วยอักษรสิงหล ประมาณปี พ.ศ. 2000 มีความว่า
ปฐมํ สกลกฺขณเมกปทํ ทุติยาทิปทสฺส นิทสฺสนํ นิทสฺสนฺโต
สมณิ ทุนิมา สมทู สนิทู วิภเช กมโต ปฐเมน วินา ฯ
แปล ได้ใจความว่า “บทแรกเป็นบทที่หนึ่งแสดงลักษณะแห่งตน เว้นแล้วจากบทแรก แสดงบทมีบทที่สองเป็นต้น พึงจำแนก (สาระแห่งอริยสัจ) โดยลำดับแก่งอักษรย่อคือ ส.ม.นิ. ท.นิ.ม. ส.ม.ทุ ส.นิ.ทุ (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, หน้า 75.
1.4)กลุ่ม จารึกสาระนิพพาน มีเนื้อความกล่าวถึงนิพพานหรือความสงบว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เท่าที่ค้นพบมีเพียงสามหลักสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น
2) จารึกเนื้อความแสดงเหตุการณ์ เป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เช่นจารึกวัดดอน จังหวัดลำพูน โดยพระเจ้าสรรพสิทธิ์ แห่งนครหริภุญชัย ประมาณปีพุทธศักราช 1610-1641 ข้อความในจารึก(สุภาพรรณ ณ บางช้าง, หน้า 75)ความว่า
สพฺพาธิสิทฺธฺยาขฺยรถฺสเรน ฉพฺพีสวสฺสสีน ปโยชิเตน
อุโปสถาคารวรํ มโนรมํ มยา กตญฺเชตวนาลยํลยํ.
ติเสกวสฺสีน มยา จ ตสฺมึ กโต หิโตทฺธารณโกว อาวโส
อาวาสิกํ ภิกฺขวรํ สุสีลํ สทา จ อุปฏฺฐหนํ อกํ เว ฯ
สาปายิกํ เหมมยญฺจ เจติยํ กตํ พหุนฺเตปิฏกํ อเลกฺขํ
มุจฺจนฺตุ ทุกฺขา สุขิตา จ สตฺตา รติพฺพเลน รตนฺตยสมึ ฯ
นอก จากนั้นยังมีจารึกวัดกุดดู่ หรือวัดจามเทวี ลำพูน จารึกปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา จารึกแม่นาเมือง นครสวรรค์ จารึกเมืองไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นต้น
3) จารึกแสดงเนื้อความภาษาบาลีกล่าวนมัสการหรือสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
จารึก เนินสระบัว เป็นศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 177 เซนติเมตร หนา 28 เซนติเมตร ลักษณะตัวอักษร จารึกเนินสระบัว จารึกเป็นตัวอักษรอินเดียใต้ สมัยหลังปาลวะ เป็นภาษาขอมและภาษาบาลี ในตอนที่เป็นภาษาบาลีเขียนเป็น วสันต์ดิลกฉันท์ กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
ศิลา จารึกเนินสระบัว จังหวัดปราจีนบุรี แต่งเมื่อ พ.ศ. 1304 แต่งโดย กมรเตงพุทธสิระผู้อยู่ในตระกูลปาทวะ ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินทรายสีเขียว เดิมอยู่ที่เนินสระบัว ในบริเวณเมืองพระรถ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ภายหลังได้เคลื่อนย้ายมาพิงไว้ที่โคนต้นโพธิใหญ่ในวัดศรีมหาโพธิ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่เดิม นายชิน อยู่ดี ครั้งยังเป็นหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์พระนคร กองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้สำรวจและจัดทำสำเนาครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ศิลาจารึกนี้ จารึกด้วยรูปอักษรหลังปัลลวะ เป็นคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย มี 27 บรรทัด บรรทัดที่ 1-3 เป็นภาษาเขมร บรรทัดที่ 4-16 เป็นภาษาบาลีแต่งเป็นฉันท์ 14 ทำนองจะใช้เป็นวสันตดิลกฉันท์ และบรรทัดที่ 17-27 เป็นภาษาเขมร ในระหว่างปี พ.ศ. 2522 ศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพันธ์ทอง ได้รวบรวมวรรณคดีบาลีที่นักปราชญ์ในอดีตได้รจนาขึ้นด้วยสติปัญญาของตนโดยตรง มิได้คัดลอกมาจากคัมภีร์พระบาลี หรืออรรถกถาใด ๆ เท่าที่ปรากฏในแผ่นดินไทยปัจจุบัน หลักฐานดังกล่าวส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในศิลาจารึก วรรณคดีบาลีในประเทศไทยที่มีอายุเก่าที่สุด คือศิลาจารึกเนินสระบัว ถึงแม้ว่าศิลาจารึกหลักนี้ ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ จะได้อ่านแปล และพิมพ์เผยแพร่แล้วก็ตามแต่เนื่องจากศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพันธ์ทองได้พิจารณาเห็นว่า คำประพันธ์ภาษาบาลีของท่านพุทธสิริ ในศิลาจารึกเนินสระบัวนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นวรรณคดีบาลีที่เก่าที่สุดของไทยในปัจจุบันเท่านั้น ยังเป็นคำประพันธ์ที่ประกาศความรู้ความสามารถอันยอดเยี่ยมของผู้รจนา ซึ่งไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญในทางปริยัติธรรมเท่านั้น ยังเป็นนักปฏิบัติที่เข้าถึงธรรโมชะเป็นพระมหาเถระที่ทรงปรีชาญาณในพระพุทธ ศาสนาครั้งนั้นอีกด้วย และเพื่อเผยแพร่คำประพันธ์ดังกล่าว คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือจารึกในประเทศไทย ศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพันธ์ทอง เฉพาะคำอ่านแปล ศิลาจารึกเนินสระบัวตอนที่เป็นภาษาบาลี ระหว่างบรรทัดที่ 4-16 รวมพิมพ์ไว้ในลำดับต่อไปด้วย(เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี, “ศิลาจารึกเนินสระบัว”, <http://www.prachinburi-museum.go.th/inscript/> จารึกประเภทนี้ยังพบอีกมาในประเทศไทย
4) จารึกเนื้อความภาษาบาลีแสดงความปรารถนา พบหลายแห่งเช่นจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามณี (พ.ศ. 1919) มีเนื้อความว่า
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน พุทโธ โหมิ อนาคเต
สงฺสารา โมจนตฺถาย สพฺเพ สตฺเต อเสสโต
นอก จากนี้ยังมีจารึกทองคำ (1927) จารึกที่ฐานพระพุทธรูปวัดผาบ่อง จังหวัดเชียงใหม่ จารึกที่ฐานพระพุทธรูปพระธาตุพนม จารึกบนฐานปราสาทโลหะ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น (ก่องแก้ว วีระประจักษ์, จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุพามณี, กรุงเทพมหานคร : ศิลปากร, 2526, หน้า 81)
5)จารึก เนื้อความปกิณณกะ จารึกในกลุ่มนี้มีข้อความภาษาบาลีแทรกเป็นบางส่วนสั้นๆเช่นจารึกที่ฐานพระ พุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
รูป แบบของการเผยแผ่โดยใช้จารึกนั้น ส่วนมากจะใช้ภาษาดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ทำให้คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจ ได้ การจารึกจึงเป็นเหมือนการบันทึกเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ จำกัดอยู่เฉพาะหมู่นักปราชญ์ผู้มีความรู้ในภาษาที่จารึกเท่านั้น คนทั่วไปมองด้วยความเคารพและสักการบูชามากกว่าจะศึกษาเนื้อหาของหลักธรรมใน จารึกนั้น
กระบวน การในการจารึกตามผนังถ้ำ ถ้ากระทำโดยผู้มีอำนาจอาจใช้ช่างฝีมือเป็นผู้จารึก าคนทั่วไปอาจกระทำด้วย ความเลื่อมใส ดังนั้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบนี้งานที่ออกมาจึงมีคุณภาพไม่เท่ากัน ส่วนการจารึกลงใบลาน มีกระบวนการและขั้นตอนสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังที่มีบันทึกของการจารึกลงใบลานของชาวเหนือตอนหนึ่งว่า “ในสมัยโบราณพระสงฆ์จะต้องฝึกหัดในการจารึกคัมภีร์ใบลาน สามเณรจะเรียนรู้เทคนิคในการเตรียมใบลาน ซึ่งได้จากต้นลานที่ปลูกไว้รอบ ๆ วัดแต่ละวัด ในขณะเดียวกันสามเณรจะฝึกอ่านและเขียนอักษรไทยวนด้วย คัมภีร์ใบลานจะถูกจารด้วย ความระมัดระวังเมื่อเสร็จแล้วจะรักษาไว้อย่างดีด้วยการห่อผ้าที่เรียกว่า ผ้าห่อคัมภีร์ คัมภีร์ใบลานผลิตจากใบลานซึ่งตัดมาจากต้นลาน ทำให้เป็นแผ่นเท่ากัน แล้วนำไปแช่ในน้ำยาสมุนไพรเพื่อป้องกันแมลง ผึ่งให้แห้งนำใบลานมาเจาะรูเพื่อร้อยด้วยเชือกหรือด้ายใช้เส้นด้ายชุบน้ำยา ยางและเขม่าผสมกัน เพื่อทำเป็นเส้นบรรทัด คัมภีร์ใบลาน จะจารด้วยอักษรไทยวน โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เหล็กจาร เป็นไม้เหลาคล้ายปากาที่ปลายเสียบด้วยเหล็กแหลมคมเพื่อจารใบลาน หลังจารแล้วนำเขม่าและน้ำมันยางทาทับ เพื่อให้ตัวอักษรเด่นชัดสามารถอ่านได้
หลัง จากนั้นจะนำใบลานเหล่านั้นไปร้อยด้วยด้ายหรือเชือก เรียกว่า สายสยอง ใบลานจะร้อยรวมกันเป็นผูก เพื่อป้องกัน การบิดงอของใบลานจะทำแผ่นไม้ขนาดเท่ากับใบลานประกบหน้าหลังของคัมภีร์และผูก เรียกว่า ไม้ปะกับธรรม หรือบางผูกจะห่อ ด้วยผ้าซึ่งทอพิเศษมีไม้ไผ่สอดไว้ตรงกลางป้องกันหักงอเรียกว่า ผ้าห่อคัมภีร์ ด้านบนผ้าห่อคัมภีร์จะมีไม้ไผ่ขนาดเล็กยาวเขียนชื่อเรื่อง ของคัมภีร์ใบลานผูกนั้นไว้ เพื่อสะดวกในการค้นหา เรียกไม้นั้นว่า ไม้ปันซัก (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เครือข่ายกาญนาภิเษก, “คัมภีร์ใบลาน”, <http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem603.html>
ผู้ ที่ไม่มีความรู้และความชำนาญจะทำไม่ได้ ดังนั้นการจารึกอักษรลงบนใบลานจึงต้องมีวิธีการ กระบวนที่ถูกต้องจึงจะได้คัมภีร์ใบลานที่มุคุณภาพและเก็บรักษาไว้ได้นาน คัมภีร์บางฉบับมีอายุยืนยาวถึงพันปี
สาเหตุ ที่ต้องจารึกคัมภีร์บาลี อรรถกถาและฎีกาลงใบบนใบลานนั้น มาจากพระขีณาสพในรัชสมัยของพระเจ้าสัทธาติสสะ แห่งลังกาทวีปได้พิจารณาว่า “ในกาลต่อไป พระสาวกที่เป็นปุถุชน มีปัญญาหยาบ ไม่สามารถท่องจำนิกายทั้งห้าให้ขึ้นปากได้ จึงได้จารึกคัมภีร์ลงบนใบลาน เพื่อให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานและเพื่อให้อนุชนได้บุญกุศลสืบไป(พระนันท ปัญญาจารย์, จูฬคันถวงศ์, กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค, 2546, หน้า 41)
นอก จากนั้นยังได้อ้างถึงอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ว่า “ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นบัณฑิตมีปรีชาญาณ สร้างเองก็ดี ให้คนอื่นสร้างก็ดีซึ่งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา ย่อมเป็นกองบุญอันหาที่สุดมิได้ มีอานิสงส์บุญไม่มีที่สิ้นสุดเช่นเดียวกับการสร้างพระเจดีย์ และการสร้างพระพุทธรูป 84,000 องค์ ปลูกต้นโพธิ์ไว้ 84,000 ต้น หรือสร้างพระวิหาร 84,000 หลัง” เพราะการมองการณ์ไกลของพระขีณาสพในอดีตและความเชื่อว่าการจารึกคัมภีร์ได้ อานิสงส์มาก พุทธสาวกจึงนิยมสร้างคัมภีร์โดยการจารึกลงบนผนังถ้ำและจารลงบนใบลาน
3. ยุคการสื่อสารโดยการพิมพ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก คัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนา
พระ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลี หรือมคธเป็นภาษาบันทึกพระพุทธศาสนา ดังนั้นในยุคต่อมาจึงมีการพิมพ์คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระไตรปิฎก และคัมภีร์อื่น ๆ เป็นภาษาบาลี พระไตรปิฎกเกิดขึ้นครั้งแรกมีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่การสังคายนา ครั้งที่ 1 ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 เดือนโดยปรารภเหตุพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต พระมหากัสสปะจึงได้ดำริว่า เอาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจงสังคายนา พระธรรมและพระวินัย เถิด ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาวะมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะ มีกำลัง ธรรมวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง อวินยวาที บุคคลจักมีกำลัง วินยวาทีบุคคล จักเสื่อมกำลัง ฯ ( วิ.จู. 7/614/303.)
ใน การทำสังคายนาครั้งนั้นมีระบุไว้เพียงพระธรรมและพระวินัย ไม่มีพระอภิธรรมในการทำสังคายนาครั้งนั้นยังคงใช้วิธีมุขปาฐะ ยังไม่ได้จดจารึกลงในเอกสารใดๆ
หลัง การทำสังคายนาครั้งที่สาม พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทำการบันทึกหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาลงบนเสาหิน และส่งพระเถระออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศอีก 9 สาย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านจารึกไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ ด้วยภาษาบาลีซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นของคัมภีร์ต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง เรียกว่า บาลี
2. คำอธิบายพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานชั้นสอง เรียกว่า อรรถกถา หรือ วัณณนา
3. คำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้นสาม เรียกว่า ฎีกา
4. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้นสี่ เรียกว่า อนุฎีกา
5.นอก จากนี้ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลังเป็นทำนองอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “ทีปนี” หรือ “ทีปิกา” หรือ “ปทีปิกา” และหนังสือที่อธิบายเรื่องปลีกย่อยต่าง ๆ ที่มีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “โยชนา” หนังสือทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นคัมภีร์อรรถกถา
คำ สอนที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด การบันทึกใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาที่จารึกคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท ในขณะที่ภาษาสันสกฤตใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
พระ ไตรปิฎกเป็นหลักฐานชั้นแรกที่สุด คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์แบ่งเป็น 3 หมวด คือ หมวดที่หนึ่ง พระวินัย ว่าด้วยเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้อบังคับควบคุมกิริยา มารยาท ของภิกษุสงฆ์ มีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์ มี 21,000 พระธรรมขันธ์ หมวดที่สอง พระสูตร ว่าด้วยเรื่องราว นิทาน ประวัติศาสตร์ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและทรงสนทนากับบุคคลทั้งหลายอันเกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ที่ทรงสอน เปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมย เป็นต้น มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และหมวดที่สามพระอภิธรรมว่าด้วยธรรมขั้นสูง คือ ว่าด้วยเรื่องเฉพาะคำสอนที่เป็นแก่น เป็นปรมัตถ์ ในรูปปรัชญาล้วน ๆ มี 42,000 พระธรรมขันธ์ คำสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เรียกว่า “ธรรมวินัย”
ธรรม วินัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระศาสดา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ก่อนจะเสด็จดับขัน ธปรินิพพาน ทีฆนิกาย มหาวรรค (10/141/147) ความว่า “ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยการล่วงไปแห่งเรา” ดังนั้น กล่าวได้ว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์ที่บรรจุพระธรรมและวินัยจึงเป็นคัมภีร์ ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ
พระ ไตรปิฎกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น มีทิเบตและจีนเป็นต้นได้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย จะได้มีคนเลื่อมใสศรัทธามาก ครั้นไม่มีใครเล่าเรียนพระไตรปิฎก ต่อมาก็ค่อย ๆ สูญสิ้นไป สิ้นหลักฐานที่จะสอบสวนพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ได้ ลัทธิศาสนาในประเทศฝ่ายเหนือเหล่านั้นก็แปรผันวิปลาสไป
ส่วน ประเทศฝ่ายใต้มี ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร ประเทศเหล่านี้คิดเห็นมาแต่เดิมว่า ถ้าแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอื่นโดยทิ้งของเดิมเสียแล้ว พระธรรมวินัยก็คงคลาดเคลื่อน จึงรักษาพระไตรปิฎกไว้ในเป็นภาษาบาลี
การ เล่าเรียนคันถธุระก็ต้องเรียนภาษาบาลีให้เข้าใจเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงเรียนพระธรรมวินัย ในพระไตรปิฎกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองประเทศฝ่ายใต้จึงสามารถรักษาลัทธิศาสนาตามหลักธรรมวินัย ยั่งยืนมาได้ การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากจะเป็นการศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนแล้วยังได้ชื่อว่า เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาไว้อีกด้วย โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก ถ้าขาดความรู้เรื่องพระไตรปิฎกแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะต้องเสื่อมสูญไปด้วยเหตุนี้
ปัจจุบัน การศึกษาพระพุทธศาสนามิได้จำกัดอยู่เฉพาะภิกษุสามเณรเท่านั้น ในมหาวิทยาลัยต่างได้มีการเปิดสอนวิชาเอกพระพุทธศาสนาจนถึงขั้นปริญญาเอก ดังนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็มิได้จำกัดวงอยู่เฉพาะภิกษุสามเณรอย่างเดียว ในประเทศไทยมีประวัติความเป็นมาของการแต่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาโดยสังเขป ดังต่อไปนี้